วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากจะได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตาแล้ว กิจกรรมศิลปะยังสอดคล้องกับแบบแผนการเรียนรู้ของสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Base Learning (BBL) อีกด้วย เด็กจะได้ฝึกปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีอิสระทางความคิด กิจกรรมศิลปะ เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย หากย้อนอดีต สะท้อนประสบการณ์เดิมด้านการเรียนการสอนศิลปะ คุณครูจะให้นักเรียนวาดภาพทิวทัศน์ในกระดาษวาดเขียน แนวคิดเดิม ๆ คือ ภาพทิวทัศน์จะมีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างภูเขา มีก้อนเมฆ มีต้นมะพร้าวหรือต้นไม้อื่น มีน้ำทะเล มีเรือใบ มีนกบิน ฯลฯ แต่ยุคปัจจุบันการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย จะต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบนะครับ เช่น - กิจกรรมวาดภาพระบายสี - กิจกรรมเล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี หยดสี พับสี ระบายสีด้วยนิ้วมือ ฝ่ามือ - กิจกรรมการพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและวัสดุต่าง ๆ - กิจกรรมการปั้น ขยำดินเหนียว ดินน้ำมัน แป้งโด กระดาษ ฯลฯ - กิจกรรมการพับ ฉีก ตัด ปะ - กิจกรรมการร้อย สาน และการออกแบบ - กิจกรรมการฝนสีด้วยกระดาษทราย ฯ ล ฯ ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ครูสามารถส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่เพิ่มจุดเชื่อมต่อของใยประสาท โดยส่งเสริมให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา การพัฒนาระบบกายสัมผัสโดยให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกันในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ผ้ากระสอบ ผ้าสักหลาด กำมะหยี่ กระดาษทราย กระดาษที่มีผิวสัมผัสต่างกัน ฯลฯ ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอดการรับรู้ภายในด้านมิติ รูปทรง ขนาด ระยะ ฯลฯ ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็ก

การพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย

การพัฒนาสมองเด็กปฐมวัย..

เด็กปฐมวัย
คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพราะสมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด


การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง 2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ


“ ฉันฟัง ฉันลืม


ฉันเห็น ฉันจำได้


ฉันได้ทำ ฉันเข้าใจ”



ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning)

สำหรับเด็กปฐมวัย


        ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ

       สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ  สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

         การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง  2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก  3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา  ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ


            การทำงานของสมอง

       สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์

        สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1  แสนล้านเซลล์  ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออกมามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ  เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่อยู่ถัดไป  ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ชิดกัน  แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่อยู่ห่างออกไป  ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses)เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง

        จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ  เกิดการคิด  กระบวนการคิด  และความคิดขึ้นในสมอง  หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น  ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร  ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น  ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง  สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

     สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน  เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น  หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง  เช่น  การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา  สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี  และรูปร่าง  สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามองเห็นภาพได้  จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคืออะไร  เป็นอย่างไร  ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกันได้  การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน  มีหลายชั้นหลายระดับ  และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกันหมด  เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว  ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด  ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม  สามารถคิดค้นหาความหมาย  คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย

    นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า  ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้  เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว  เครียด  บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข  คับข้องใจ  ครูอารมณ์เสีย  ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี  เดี๋ยวร้าย  ครูดุ  ขณะที่เด็กเกิดความเครียด  สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง  ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด  เรียกว่า  คอร์ติโซล (Cortisol)  จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด  ความฉลาด  กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ  ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง  เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา  หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้  ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้  แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

 

การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

            การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์  ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน  ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน

            หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้  

            1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ

            2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ  เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน  เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน  อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น  ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น   

            3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข 

            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว  เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส  สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี

            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น  เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา

            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม 

            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ


          กระบวนการจัดการเรียนรู้

        เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ  ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ  เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ  เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ  และเป็นรายบุคคล  การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบความคิดของตน  แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่  ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง  มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา  บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม

ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก



1.      ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

     ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน

               การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ

                    

                       ฉันฟัง  ฉันลืม

                        ฉันเห็น  ฉันจำได้

                        ฉันได้ทำ  ฉันเข้าใจ


            2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด

          3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา


สารอาหารบำรุงสมอง


           อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์  อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง  เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม  เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม  ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง  เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง

           ตับและไข่  เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่  และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง

           ปลา  สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็ว

ควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู  ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น

           ผักและผลไม้  ผักที่มีสีเขียว  เหลืองหรือแดง  อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง

           วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก

           ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซี่ยม  สังกะสี  ฟอสฟอรัสและไอโอดีน  มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง

           ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้

           การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ  ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดกว้าง คิดไกล  คิดเชิงอนาคต  คิดนอกกรอบ  ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก  สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  


                เด็กวัยนี้ยังไม่เข้าใจเหตุผล

               ลูกไม่รู้ว่าแม่เหนื่อย   ลูกไม่เข้าใจ  ลูกก็ซน ช่างซักช่างถาม อย่ารำคาญ อย่าโกรธลูกเลย 

               รักลูกก็ให้กอดลูกแล้วบอกว่าแม่รักพ่อรัก  แสดงความรักออกมาอย่างจริงใจ  แสดงความใส่ใจต่อลูก  นี้คือยาวิเศษที่ลูกต้องการ

            คนที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุดคือคนอารมณ์ดี

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารสำหรับเด็กแรกเกิด

อาหารตามวัย คือ อาหารเพิ่มเติมจากนมแม่ โดยเด็กจะได้รับอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และเพิ่มจำนวนมื้อตามอายุเด็กค่ะ แต่ก่อนที่จะไปดูเมนูอาหารตามวัย เรามาศึกษาการเตรียมอาหารสำหรับลูกของเรากันก่อนนะคะ

1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร
2. ใช้ภาชนะที่สะอาด เก็บไว้มิดชิด ไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม
3. หุงต้มอาหารและน้ำให้สุกอย่างทั่วถึง
4. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกเละ แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอน หรือบดด้วยช้อนก็ได้ หรือตำข้าวสารให้ละเอียดแล้วจึงค่อยนำไปต้มให้สุก จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก
5. สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม
6. ให้กินเนื้อปลาสุก โดยการย่าง นึ่งหรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา
7. ให้กินแกงจืด (น้ำต้มผักกับเนื้อสัตว์บดละเอียด) ผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผัก แต่ไม่ต้องเค็ม
8. เมื่อเด็กอายุ 7 เดือนแล้วให้กินถั่วเมล็ดแห้งได้ แล้วนำไปหุงต้มปนไปกับข้าว หรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

เมนูอาหารเด็กเล็ก อายุ 0-12 เดือน (สำหรับ 1 วัน) 

อายุครบ 4 เดือนขึ้นไป
กินนมแม่ ข้าวบด ไข่แดงต้มสุกผสมแกงจืดวันละ 1 ครั้ง แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม
อายุครบ 5 เดือน
กินนมแม่ เพิ่มข้าวบดเนื้อปลาสุกสลับกับไข่แดงต้มสุกผสมแกงจืดวันละ 1 ครั้ง แล้วกินนมแม่ตามจนอิ่ม

อายุครบ 6 เดือน
กินนมแม่ ข้าวบดเนื้อปลาสุกหรือไข่แดงต้มสุกผสมแกงจืด โดยเพิ่มผักสุกบดด้วยทุกครั้งเป็นอาหารแทนนมแม่ 1 มื้อ มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ

อายุครบ 7 เดือน
กินนมแม่ เพิ่มเนื้อสัตว์สุกบดชนิดอื่น เช่น ไก่ หมูและตับสัตว์สุกบด หรือทั้งไข่แดงและไข่ขาวต้มสุกบดลงในข้าวและผักบดสลับกับอาหารที่เคยให้เมื่ออายุครบ 6 เดือน มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ

อายุ 8-9 เดือน
กินนมแม่ กินอาหารเช่นเดียวกับอายุครบ 7 เดือน แต่บดหยาบและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นอาหารหลักแทนน้ำนมแม่ได้ 2 มื้อ มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ
อายุ 10-12 เดือน
กินนมแม่ กินอาหารเช่นเดียวกับอายุ 8-9 เดือน แต่เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเป็นอาหารหลักแทนน้ำนมแม่ได้ 3 มื้อ มีผลไม้เป็นอาหารว่าง 1 มื้อ


1. อย่าให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรก เพราะลูกจะได้รับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่ และนมแม่จะลดลงเพราะการดูดกระตุ้นน้อยลง
2. ควรเริ่มให้อาหารอื่นตามเมนูที่แนะนำ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยง่ายขึ้นนะคะ
3. เริ่มให้ลูกกินอาหารทีละอย่าง ทีละน้อยๆ เช่น 1 ช้อนชา แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนตามแต่ชนิดของอาหาร โดยให้กินก่อนกินนมแม่มื้อใดมื้อหนึ่งเป็นประจำ แล้วให้นมตามจนลูกอิ่มนะคะ ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้อาหารวันละ 1 มื้อโดยเพิ่มทีละน้อยๆ จนมากพอ และเป็นอาหารหลักได้ 1 มื้อ เมื่ออายุ 6 เดือน
4. ควรป้อนอาหารทุกชนิดด้วยช้อนเล็กๆ เพราะเราต้องการหัดให้ลูกรู้จักการกินอาหารจากช้อนค่ะ
5. ควรเว้นระยะในการเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิด เพื่อดูการยอมรับและดูว่าลูกแพ้อาหารหรือไม่ เช่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
6. ถ้าลูกไม่กินเพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบ ควรงดไว้ก่อนชั่วคราวค่ะ แล้วค่อยลองให้อาหารชนิดนั้นใหม่ในอีก 3-4 วันต่อมา จนลูกยอมกิน
7. หัดให้ลูกกินอาหารเหลวก่อน เช่น น้ำส้มคั้น น้ำต้มผัก แล้วจึงหัดให้กินอาหารข้นขึ้น เช่น กล้วยน้ำว้าสุกงอมบดผสมกับน้ำต้มสุกเล็กน้อย ข้าวบดผสมน้ำแกงจืด ไข่แดงต้ม ผักบด ปลาบด เป็นต้น อาหารจะค่อยๆข้นขึ้นและหยาบขึ้นตามอายุของลูกนะคะ
8. ให้ลูกกินน้ำต้มสุกบ้าง เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์ และช่วยในการขับถ่ายของเสีย
9. เมื่อลูกเริ่มมีฟัน ก็ให้กินอาหารสับละเอียด ไม่ต้องบดค่ะ
10. ให้ลูกกินอาหารที่สดใหม่ และทำสุกใหม่ๆ
11. เมื่อลูกไม่ต้องการกิน อย่าบังคับนะคะ พยายามลองให้ลูกกินใหม่วันต่อไป
12. อย่าให้ลูกกินอาหารรสเค็มจัดและหวานจัด


ที่มา
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

ข้อแนะนำในการให้อาหารตามวัยแก่เด็กเล็ก

พัฒนาการทารกแรกเกิด - เดือนที่ 3

พัฒนาการทารกแรกเกิด - เดือนที่ 3 PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย กัมพล   
ทารกแรกเกิดพัฒนาการของเด็ก เป็นเรื่องราวของความซับซ้อน ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอันมีปัจจัยสำคัญที่ตัวเด็กเอง และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นตลอดเวลา หากได้รับการตอบสนองจากพ่อแม่ หรือผู้ใกล้ชิดในครอบครัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และช่วยส่งเสริมให้เกิดขบวนการพัฒนาลักษณะ บุคลิกภาพที่ดีของเด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่สามารดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข และในทางตรงกันข้าม หากเด็กได้รับการตอบสนอง ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ก็ย่อมก่อให้เกิดผลเสียกับเด็กคนนั้นๆ เช่นกัน ฉบับนี้เราจึงขอเสนอท่านด้วยเรื่อง "การพัฒนาการของเด็ก" ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงเดือนที่ 3 ลองดูซิว่า ลูกของท่านนั้น มีพัฒนาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง และตัวท่านเองในฐานะเป็นพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก ได้ตอบสนองในพัฒนาการเหล่านั้นได้มากน้อยเพียงใด
ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก

มีความสำคัญยิ่ง เรียกได้ว่า มีความรู้สึกที่ดีต่อกันตั้งแต่เริ่มวางแผนที่จะมีลูก จนกระทั่งลูกน้อยเริ่มเติบใหญ่อยู่ในครรภ์ จนกระทั่งคลอดออกมา แม่ได้อุ้ม กอด สัมผัส และให้ลูกดูดนมแม่ ความผูกพันทางจิตใจระหว่างแม่ลูก มีความสำคัญต่อพัฒนาการของลูกยิ่งนัก ส่งผลไปถึงการเลี้ยงดู ซึ่งก่อให้เกิด สายใยแห่งความผูกพันมากยิ่งขึ้น ระหว่างเด็กกับแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก จะเรียนรู้จากกริยาอาการของเด็ก เข้าใจถึงความต้องการของเด็ก เช่น ลูกร้องเมื่อหิวนม ลูกอยากเล่น ลูกอยากนอน การส่งเสียงพูดช้าๆ ช่วยให้ลูกเกิดความสนใจโดยอาจจะแสดงสีหน้า ทำเสียงฮือฮา หรือขยับริมฝีปาก บิดไปมา เหล่านี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการต่อไป
อาการร้องของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิด จะสามารถบอกได้ว่าเด็กร้องเนื่องจากสาเหตุใด เช่น เจ็บคอ ร้องหิว อยากให้อุ้ม นอกจากนี้อาจร้องเพราะตกใจ หรือร้องตามเสียงร้องของเด็กคนอื่น เป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ เราจึงต้องค่อยๆ พยายามเรียนรู้ และสังเกตจากอาการของลูกได้
พฤติกรรมและการเคลื่อนไหวทางร่างกายในระยะแรกเกิด
เด็กมักจะอยู่ในท่างอแขน-ขา จะมีการเคลื่อนไหวเท่ากัน 2 ข้างในท่านอนคว่ำ และเด็กก็จะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ เช่น การดูด การโต้ตอบเมื่อมีสิ่งสัมผัสข้างแก้ม การขยับแขน-ขาเมื่อตกใจ การก้าวของขาเมื่อจับยืนและเท้าแตะพื้น ซึ่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับเหล่านี้ ในระยะแรกเกิด เด็กสามารมองเหม่อเห็นได้ชัดเจนในระยะห่าง 8-9 นิ้ว และจะมีพฤติกรรมมองหน้าช่วงสั้นๆ สามารถเลียนแบบ อ้าปาก และแลบลิ้นได้
ในช่วงสัปดาห์แรกนั้น เด็กอาจแสดงความตกใจด้วยการร้อง บางครั้งพ่อแม่อาจตกใจไปด้วย ซึ่งไม่แน่ใจว่าทำไมลูกจึงร้อง ทั้งๆ ที่ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การได้สัมผัสทางกาย โดยเฉพาะการอุ้มอยู่ในอ้อมกอดของแม่ จะช่วยให้เด็กหยุดร้องได้ และเป็นการกระตุ้นพัฒนาการอย่างหนึ่งได้ เด็กจะรับรู้ได้ว่า แม่อุ้มด้วยอารมณ์ และความรู้สึกเช่นไร
ในระยะที่เด็กจะยังนอนเป็นส่วนใหญ่และตื่นขึ้นมาดูดนมทุกๆ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง พฤติกรรมของเด็ก แต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นว่าลูกของเราจะต้องนอน หรือดูดนม ในจังหวะเวลาสม่ำเสมอ หรือเหมือนกับลูกคนอื่น ดังนั้น ไม่ควรเอาลูกคนอื่นๆ มาเปรียบเทียบกับลูกของเรา ขอเพียงการพัฒนาการต่างๆ ของลูกของเราอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและถูกต้อง ก็ดีแล้ว

เดือนที่ 1
เมื่อผ่านไป 1 เดือน คุณแม่ก็คงจะเริ่มมีความชำนิชำนาญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจับลูกอาบน้ำ อุ้มลูกให้ดูดนม ส่วนตัวเด็กเอง เราก็จะรู้สึกว่าดูกระชับมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กในช่วงนี้ก็จะยังคงต้องการนอนมากอยู่ดี จะนอนถึงวันละประมาณ 12 ชั่วโมง เวลาตื่นก็จะร้อง และดูดนม หรือเวลารู้สึกเปียกแฉะจากการปัสสาวะหรืออุจจาระ ก็จะกระตุ้นให้ตื่นแล้วร้อง การนอนในแต่ละช่วงของเด็กวัยนี้ ก็จะแตกต่างกันไป แต่มักจะหลับได้ไม่นาน ก็ตื่น ขยับตัวไปมา แล้วจะหลับไปอีก การตื่นของเด็กแต่ละครั้ง ไม่ได้หมายความว่า เด็กหิวนม ดังนั้น เมื่อเห็นลูกตื่นขึ้นหรือเริ่มร้อง ไม่จำเป็นต้องป้อนนม หรือให้ลูกดูดนมทุกครั้งไป แต่ควรจะใช้วิธีการสัมผัสโดยการกล่อมเบาๆ หรืออุ้มให้กระชับ ถ้าร้องมาหรือพูดคุยเล่นด้วย ก็จะทำให้เด็กสงบลงได้ สิ่งสำคัญก็คือว่า พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะทำให้สภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กไม่ตึงเครียด ควรจะเลี้ยงดูเด็กด้วยอารมณ์ที่แจ่มใสร่าเริง เหมาะจะทำให้การพัฒนาการทางด้านจิตใจเด็กเป็นไปด้วยดีด้วยหลายๆ ครั้ง เราจึงต้องคอยสังเกตอยู่เสมอว่า การช่วยปลอบให้ลูกหยุดร้องนั้น จะใช้วิธีใดสำหรับลูกของเรา ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไป

ในยามที่ลูกตื่น และปราศจากสิ่งรบกวนอื่นๆ จะเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการกระตุ้นการพัฒนาการของลูก ทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา จิตใจ และร่างกาย เราสามารถกระตุ้นด้วยการพูดคุยเล่นด้วย ใช้เสียงเป็นสื่อ เช่น เสียงเพลง เสียงดนตรีไขลาน ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนไหวและสายตา อาจจะใช้โมบาย การเสริมสร้างอารมณ์และสิ่งแวดล้อมที่สดใส ร่าเริงต่อลูกของเราในเวลาที่เหมาะสมจะเป็นสิ่งกระตุ้นต่อการพัฒนาการที่สำคัญยิ่งในอนาคต

การพัฒนาการทางด้านร่างกายในอายุ 1 เดือน การเคลื่อนไหวแขน-ขา ก็จะคงเหมือนในช่วงแรกเกิด กล่าวคือ จะเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบแบบสะท้อนกลับ ยังไม่สามารถยกศีรษะได้ ถ้าจับตั้งก็จะตกไปข้างหน้า หรือแหงนไปข้างหลัง แต่อาจจะสามารถตะแคงข้างได้บ้าง เด็กจะจ้องมองสิ่งต่างๆ แต่จะยังไม่คว้าของ ลักษณะการมองสิ่งของจะสามารถมองตาม และแสดงสีหน้า ท่าทางสนใจตื่นเต้น เมื่อมองเห็นหน้าคนหรือของเล่น ในระยะใกล้ๆ โดยทั่วไปไม่เกิน 1 ฟุต นอกจากนี้ก็จะส่งเสียงโต้ตอบ อ้อแอ้ได้แล้ว อาจจะจำเสียงพ่อแม่ได้บ้าง

เดือนที่ 2
เด็กวัยนี้ เมื่อจับนอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้นได้ประมาณ 45 องศา ในระยะสั้นๆ แต่ศีรษะยังตั้งได้ไม่แข็ง เริ่มที่จะจับถือสิ่งของได้นานขึ้น และอาจจะคว้าของได้ ชอบจ้องมองหน้าผู้คน ยิ้มให้คนใกล้ชิด และมองตาม ถ้ามีคนคอยเล่นด้วยก็จะตื่นได้นานขึ้น เด็กบางคนอาจจะนอนนานขึ้นในตอนกลางคืน ดังนั้นอาจจะนอนนานขึ้นในตอนกลางคืน ดังนั้นอาจจะตื่นเพื่อดูดนมเพียงครั้งเดียว ในช่วงวัยนี้จะกินนมทุกๆ 4 ชั่วโมง อาจจะได้นมวันละ 30-35 ออนซ์ เวลาร้องหิว ถ้าไม่ได้นมก็จะร้องมากจนบางครั้งทำให้พ่อแม่ตกอกตกใจไปตามๆ กัน

ในช่วงที่เด็กตื่น จะมีการพยายามขยับแขน-ขา พลิกตัวไปมา บ้างก็ดูดนิ้วไปบ้าง การเคลื่อนไหวแบบนี้จะต้องระวังไว้บ้างเพราะอาจตกงานที่สูงหรือเตียงได้ การสื่อสารกับสังคมของเด็กวัยนี้จะแสดงโดยการยิ้ม และขยับแขน-ขา เตะขา บิดตัว และเด็กก็จะเริ่มจำเสียงของแม่ได้ นอกจากนี้เด็กบางคน ก็จะแสดงให้เห็นว่า เด็กมีความถนัดซ้ายหรือขวา ถ้าเราสังเกต ทั้งนี้จะต้องไม่มีสิ่งอื่นๆ ที่ผิดปกติทางร่างกาย เช่น ชอบนอนตะแคงขวา ชอบดูดนิ้วมือขวา ถ้าเราจับเปลี่ยนไปอีกทาง ก็อาจจะร้องไห้
อย่างไรก็ตาม เด็กจะเริ่มเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ ท่านอนของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันเรียนรู้ การกินนมจากนมแม่หรือนมขวด เด็กจะพอใจกับการที่จะดูดนิ้วตัวเอง เป็นความพอใจเป็นความสุข เพราะการดูดจะทำให้เหมาะมีความรู้สึกผ่อนคลาย

เดือนที่ 3
เด็กจะเริ่มชันคอ หรือยกศีรษะขึ้นเมื่อนอนคว่ำได้แล้ว แต่บางคนคงจะยังไม่แข็งแรงมากนัก สามารถยกแขน และขาได้ ถ้าจับยืนเด็กจะเหยียบขายันพื้นได้ชั่วครู่ และเรายังจับให้เด็กนั่งลงได้ เริ่มคว้าของด้วยมือทั้งสองข้างบางครั้งก็จะยกมือขึ้นตีสิ่งของ เด็กจะยังคงดูดนิ้วและมองสิ่งของรอบๆ ข้างได้พร้อมๆ กัน

ในระยะนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้โลกภายนอกมากขึ้น เริ่มที่จะสังเกตเสียงและสี รูปร่าง สนใจที่จะฟังเสียงต่างๆ ที่ผ่านเข้ามารอบตัว เด็กจะจำเสียงของพ่อแม่ได้ ส่วนการมองเห็นก็จะสามารถเห็นภาพสิ่งของได้ไกลขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้เด็กจะให้ความสนใจกับมือของตัวเองค่อนข้างมาก การใช้มือตีสิ่งของ คว้าสิ่งของเอามือเข้าปาก กำมือเข้าหากันต่างๆ เหล่านี้ เนื่องจากเด็กเริ่มมองเห็นชัดเจนมากขึ้น และเห็นมือซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวที่จะเล่นด้วยได้ เด็กจะเริ่มจดจำพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เหล่านี้ได้แล้ว การได้เล่น พูดคุย ยิ้ม และส่งเสียง เด็กก็จะเรียนรู้ทำความพอใจของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นความสุขและเพลิดเพลินของตัวเอง ดังนั้น เด็กวัยนี้จึงชอบที่จะให้เราพูดคุยและเล่นด้วยเป็นส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เราอยู่เฉยๆ ไม่ชอบอยู่คนเดียว เด็กจะสนใจสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทุกอย่าง การเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาของเด็ก แต่ก็ควรจะทำให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป

[ ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่   ปีที่ 6 ฉบับที่ 66 มกราคม 2542 ]

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย มีดังนี้            

1. เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ สามารถที่จะใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของวัตถุ
และสถานที่ได้ มีทักษะการใช้ภาษาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถที่จะอธิบายประสบการณ์ของตนได้ ดังนั้นควรจัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสออกมาหน้าชั้น เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง แต่ครูควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
 2. เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้าง
จินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูจะส่งเสริมให้เด็กใช้การคิดประดิษฐ์ในการเล่าเรื่อง หรือการวาดภาพ ก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็ก แต่บางครั้งเด็กอาจจะไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงจากความจริง ครูจะต้องพยายามช่วย แต่ไม่ควรจะใช้การลงโทษเด็กว่าไม่พูดความจริง เพราะจะทำให้เป็นการทำลายความคิดคำนึงของเด็กโดยทางอ้

 3. เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา
หลาย ๆ อย่างผสม ๆ กัน เด็กจะไม่สามารถแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ อย่างปนกัน ยกตัวอย่างการแบ่งกลุ่มของวัตถุที่มีรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ กัน เช่น สามเหลี่ยม วงกลม ฯลฯ จะต้องแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่มเดียวกัน ถ้าผู้ใหญ่จะรวมวงกลมและสามเหลี่ยมผสมกัน โดยยึดสีเดียวกันเป็นเกณฑ์ เด็กวัยนี้จะไม่เห็นด้วย

  4. ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว ยังค่อนข้างสับสน เด็กยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร ความสามารถในการจัดลำดับ การตัดสินใจของเด็กในวัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล ครูที่สอนเด็กในวัยนี้จะสามารถช่วยเด็กให้มีพัฒนาการทางสติปัญญา ส่งเสริมให้เด็กมี สมรรถภาพ โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กวัยนี้มีประสบการณ์ค้นคว้าสำรวจสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครู และเพื่อนในวัยเดียวกัน และพยายามให้ข้อมูลย้อนกลับเวลาที่เด็กทำถูกหรือประสบผลสำเร็จ และพยายามตั้งความคาดหวังในสัมฤทธิผลให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน (สุรางค์ โค้วตระกูล 2541 : 79-80)

เขียนโดย : nomnam

ลักษณะของเด็กปฐมวัย

บุคลิคลักษณะของเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มเข้าสู่การเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่แสดงบุคลิคลักษณะของตัวเองออกมาอย่างเห็นได้ชัด คือ เด็กในวัยนี้จะเป็นวัยที่ซุกซน ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบเล่น ชอบท้าทาย เป็นวัยที่ชอบสำรวจ คือ อยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง อยากถามคือจะชอบถามโน่นถามนี่อยู่เสมอ และวัยนี้จะชอบเล่นของเล่นมาก ไม่ค่อยเชื่อฟังและโมโหง่าย เอาแต่ใจตัวเองชอบอิจฉาผู้อื่น เช่น อิจฉาน้องตัวเอง และชอบเลียนแบบผู้อื่น เช่นจะเลียนแบบผู้ที่โตกว่า และนอกจากนี้เด็กจะเป็นวัยที่มีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะดูได้จากการที่เด็กเล่นของเล่น

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง บ่างช่างยุ
ผู้แต่ง : อภิสิทธิ์ สังขวารี
ภาพ : อภิสิทธิ์ สังขวารี
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บจก.เอเธนส์ พับลิชชิ่ง 69/66 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2520841 http://www.athens.co.th/
ราคา : 15 บาท

        ณ ป่าแห่งหนึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและหากินของสี่เกลอ ได้แก่ เจ้านกฮูก เจ้าลิง เจ้าค้างคาว และเจ้าบ่าง เจ้าค้างคาวนั้นมักจะหาผลไม้กินได้มากสร้างความไม่พอใจให้เจ้าบ่างที่มักหาผลไม้ได้น้อย มันจึงไปยุยงเจ้าลิง และเจ้านกฮูกให้ขับไล่ค้างคาวออกจากป่าเพราะเจ้าค้างคาวหาผลไม้กินเก่ง ผลไม้อาจจะหมดป่า ไม่เหลือให้พวกเรากิน เจ้าลิงกับเจ้านกฮูกหลงเชื่อจึงพากันไปขับไล่ค้างคาวเจ้าค้างคาวจึงจำใจออกจากป่าไป ต่อมา เจ้าบ่างก็นึกริษยาเจ้าลิงที่สามารถห้อยโหนไปมาหาอาหารได้อย่างคล่องแคล้ว แต่ตัวมันไม่สามารถทำได้ มันจึงคิดหาทางขับไล่เจ้าลิงเช่นเดียวกับเจ้าค้างคาว มันจึงไปยุเจ้านกฮูกให้ช่วยกันขับไล่เจ้าลิงโดยอ้างว่า เจ้าลิงสามารถห้อยโหนไปมาหากินได้อย่างคล่องแคล้วเช่นนี้สักวันอาหารต้องหมดทั้งป่าแน่ เจ้านกฮูกหลงเชื่อเจ้าบ่างอีกจึงไปขับไล่เจ้าลิง แม้ว่าเจ้าลิงจะอ้อนวอนทั้งคู่แต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายเจ้าลิงก็ถูกขับไล่ไปในที่สุด ต่อมามานาน เจ้าบ่างเกิดไม่พอใจเจ้านกฮูกที่สามารถหาอาหารได้ในตอนกลางคืน มันต่อว่าเจ้านกฮูกจนทั้งคู่มีปากเสียงกันใหญ่โต สุดท้ายเจ้านกฮูก คิดได้ว่าเจ้าบ่างนี่แหละคือตัวปัญหาที่คอยริษยาและยุยงให้เพื่อนแตกแยกกัน มันจึงไปอยู่กับเจ้าค้างคาวและเจ้าลิงที่ถูกขับไล่ไปก่อนหน้านี้ เมื่อเพื่อนๆจากไปหมดแล้วก็ไม่มีสัตว์ตัวใดคบหาด้วย เนื่องจากได้ยินว่าเจ้าบ่างนั้นเป็นจอมยุยงเพื่อนให้แตกแยกกัน มันจึงอยู่อย่างเงียบเหงาเดียวดาย
      เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :: ไม่ควรคบกับบุคคลที่คอยพูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกเพราะจะทำให้เราเสียเพื่อนได้


นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
ผู้แต่ง : อภิสิทธิ์ สังขวารี
ภาพ : อภิสิทธิ์ สังขวารี
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บจก.เอเธนส์ พับลิชชิ่ง 69/66 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2520841 http://www.athens.co.th/
ราคา : 15 บาท


      กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ป่าริมแม่น้ำอันเป็นที่อยู่และที่กินของเจ้าลิงน้อย ในแม่น้ำมีจระเข้เจ้าเล่ห์ตัวหนึ่ง มันอยากกินเจ้าลิงมากแต่เพราะเจ้าลิงนั้นอาศัยอยู่บนต้นไม้ จระเข้ไม่สามารถขึ้นไปกินได้ เจ้าจระเข้จึงคิดหาวีที่จะกินเจ้าลิง วันหนึ่งเจ้าลิงกำลังกินอาหารอยู่นั้น มันได้ยินเสียงร้องไห้ดังมาทางริมน้ำ เจ้าลิงเกิดความสงสัยจึงไปดูที่มาของเสียงนั้นทันที ก็พบเจ้าจระเข้กำลังร้องไห้จึงถามจระเข้ว่า ทำไมเจ้าจึงมาร้องไห้อยู่ที่นี่ล่ะ จระเข้ตอบว่า ฉันเป็นจระเข้แต่กลับว่ายน้ำไม่เป็นฉันรู้สึกอับอายจึงมาร้องไห้อยู่ที่นี่ไง เจ้าลิงได้ยินดังนั้นก็หัวเราะและคุยโอ้อวดว่า ฉันนะเป็นลิงที่ว่ายน้ำเก่งที่สุดในป่านี้เดี๋ยวฉันจะสอนเจ้าว่ายน้ำเอง ตั้งแต่นั้นมา เจ้าลิงก็สอนว่ายน้ำให้เจ้าจระเข้ โดยเจ้าจระเข้ก็แสร้งว่ายน้ำไม่เป็นและอ้างว่า ฉันจำที่นายสอนไม่ได้นายช่วยลงมาว่ายให้ฉันดูเป็นตัวอย่างหน่อยสิ เจ้าลิงไม่รู้เท่าทันจึงหลงกลกระโจนลงจากต้นไม้ แล้วว่ายน้ำให้จระเข้ดู เจ้าจระเข้เห็นแบบนั้นก็พูดขึ้นว่า ฮะ เจ้าลิงโง่ขอบใจนะที่อุตสาห์ลงจากต้นไม้มาให้ฉันกิน ความจริงข้าว่ายน้ำเป็นอยู่หรอกไม่จำเป็นต้องให้เจ้าสอนหรอก  เมื่อเจ้าจระเข้พูดจบก็โดดงับกินเจ้าลิงเป็นอาหารในทันที เจ้าลิงร้องด้วยความตกใจได้แต่นึกเสียใจที่ตนหลงกลให้กับเจ้าจระเข้

      เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :: ไม่ควรสอนในสิ่งที่ผู้เรียนชำนาญอยู่แล้ว

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา
ผู้แต่ง : อภิสิทธิ์ สังขวารี
ภาพ : อภิสิทธิ์ สังขวารี
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บจก.เอเธนส์ พับลิชชิ่ง 69/66 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2520841 http://www.athens.co.th/
ราคา : 15 บาท

      ณ หนองน้ำแห่งหนึ่ง มีฝูงมดอาศัยหากินและทำรังอยู่ที่ทุ่งหญ้าอันสวยงาม พวกมดนั้นล้วนขยันขันแข็งและสามัคคีต่างช่วยกันหาอาหารโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และที่หนองน้ำใกล้ๆรังของฝูงมดนั้นมีปลาใหญ่อาศัยอยู่และจดจ้องรอคอยจังหวะที่จะกินฝูงมดแต่ยังไม่มีโอกาสเพราะไม่สามารถขึ้นมาบนฝั่งได้ และเมื่อถึงฤดูฝนฝนตกหนักถึงขั้นน้ำท่วมทำให้พวกมดต่างหวาดกลัวว่าน้ำจะท่วมถึงรังของมันและก็เป็นอย่างที่มดกลัวจริงๆน้ำได้ท่วมมาถึงรังมดทำให้พวกปลาต่างกรูกันเข้ามากินพวกมดอย่างเอร็ดอร่อยโดยไม่ฟังเสียงร้องขอชีวิตของมดเลย ครั้นพอถึงฤดูแล้ง อากาศร้อนจัด ต้นไม้ในป่าล้วนแห้งเหี่ยว สัตว์ป่าก็พากันล้มตาย แม่น้ำลำธารต่างเหือดแห้งจนบรรดาสัตว์น้ำไม่สามารถว่ายไปมาได้ ฝูงมดพบเจ้าปลาที่เคยกินเพื่อนๆมดเมื่อตอนน้ำท่วม กำลังนอนหายใจรวยรินจึงพากันเข้ามากัดกินปลาเป็นอาหารพวกปลาต่างร้องขอชีวิต เช่นเดียวกันกับคราวที่พวกมดร้องขอ แต่มดก็ไม่ฟังเสียงร้องขอใดๆต่างพากันกินปลาเป็นอาหารอย่างเอร็ดอร่อย
      เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :: ทุกๆคนต่างทำเพื่อประโยชน์ของตนเองเมื่อมีโอกาสก็จะรีบฉวยโอกาสนั้น


นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง กระต่ายตื่นตูม
ผู้แต่ง : อภิสิทธิ์ สังขวารี
ภาพ : อภิสิทธิ์ สังขวารี
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บจก.เอเธนส์ พับลิชชิ่ง 69/66 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2520841 http://www.athens.co.th/
ราคา : 15 บาท

      ณ ป่าอันแสนสงบสุข มีกระต่ายน้อยตัวหนึ่งเพิ่งกลับมาจากการวิ่งเล่นทั้งวัน มันรู้สึกอ่อนเพลียมาก มันเห็นว่าใต้ต้นมะพร้าวนี้ช่างร่มรื่น น่าพักผ่อน เจ้ากระต่ายจึงตัดสินใจนอนพักที่โคนต้นมะพร้าว ขณะที่เจ้ากระต่ายกำลังนอนหลับ จู่ๆก็เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวทำให้เจ้ากระต่ายตกใจตื่นมากจึงรีบวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต ทั้งวิ่งไปตระโกนไป แย่แล้วๆ แผ่นดินไหวๆ หนีเร็ว สัตว์อื่นที่ได้ยินต่างตกใจรีบพากันวิ่งหนีตามเจ้ากระต่ายกันหมดจนมาเจอท่านสิงโตจ้าวป่า สิงโตจึงถามว่า พวกเจ้าหนีอะไรกันมา สัตว์ทุกตัวต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเราหนีแผ่นดินไหวกันมา สิงโตจึงให้เจ้ากระต่ายนำทางเพื่อไปดูที่เกิดเหตุว่ามีแผ่นดินไหวจริงหรือไม่ เมื่อสิงโตและสัตว์อื่นมาถึงที่เกิดเหตุก็ไม่พบว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น มีแต่เพียงลูกมะพร้าวหล่นอยู่ที่พื้นพียงลูกเดียวเท่านั้น
      เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :: อาการตระหนกตกใจจนเกินเหตุอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่องฤาษีเลี้ยงลิง
ผู้แต่ง : อภิสิทธิ์ สังขวารี
ภาพ : อภิสิทธิ์ สังขวารี
จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย : บจก.เอเธนส์ พับลิชชิ่ง 69/66 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร : 02-2520841 http://www.athens.co.th/
ราคา : 15 บาท

      นานมาแล้ว มีฤาษีใจดีตนหนึ่งบำเพ็ญเพียรด้วยจิตเบิกบาน ในป่าอันสวยงามและอุดมสมบูรณ์ บริเวณใกล้ๆอาศรมของฤาษีนั้น เป็นที่อยู่อาศัยและหาอาหารของเจ้าลิงน้อย ด้วยความที่มีบ้านใกล้กัน เจ้าลิงและฤาษีจึงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี บ่อยครั้งที่ฤาษีนำเอาอาหารมาให้เจ้าลิง จนเจ้าลิงเคยตัวไม่ยอมไปหาอาหารกินเอง ฤาษีผู้ใจดีเลยต้องเลี้ยงเจ้าลิงไว้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุกๆวันฤาษีต้องเอาอาหารมาให้เจ้าลิงถึงสามมื้อ แต่ด้วยเจ้าลิงนั้นแสนซุกซน ดื้อรั้น และมักสร้างความวุ่นวายให้กับฤาษีอยู่เป็นประจำทั้งรื้นค้นข้าวของ ขโมยอาหาร และทุบทำลายข้าวของ วันแล้ววันเล่าเจ้าลิงก็ไม่ยอมหยุดก่อเรื่องวุ่นวาย แต่ฤาษีผู้ใจดีก็ยังคงเลี้ยงดูเจ้าลิงด้วยความเมตตาไม่เสื่อมคลาย
      นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :: การปกครองคนหรือคนหมู่มากที่ดื้อรั้นไม่อยู่ในระเบียบวินัยย่อมก่อความเดือดร้อนรำคาญ