วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บำรุงสายตา...ช่วงตั้งครรภ์

บำรุงสายตา...ช่วงตั้งครรภ์

การ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและความดันโลหิตในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการพร่ามัว รวมถึงการใช้สายตาในนการทำงานเป็นเวลานานจะทำให้สายตาอ่อนล้าได้ง่าย ดังนั้น ในช่วงตั้งครรภ์จึงควรหมั่นกินอาหารที่มีสารอาหาร ในการช่วยบำรุง สายตาค่ะ
วิตามินเอ : มีลูทีนและซีเซนทีนช่วยบำรุงดวงตาให้ไม่ระคายเคืองง่ายและไม่แห้ง พบได้ทั้งในผลิตผลจากสัตว์ เช่น ตับ ไข่แดง นม น้ำมันสกัดจากตับปลา ส่วนผักผลไม้ที่มีวิตามินเอคือพืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด สีเหลือง เช่น ผักบุ้ง มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง บร็อคโคลี แครอท มะม่วงสุก เป็นต้น
วิตามินอี : ช่วย ป้องกันอนุมูลอิสระไม่ให้ทำลาย จอรับภาพภายในดวงตา ซึ่งมีมากในน้ำมันพืชข้าวซ้อมมือ ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่างๆ เช่น อัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ควรกินวันละ 1 ฝ่ามือเพื่อเสริมวิตามินอีให้แก่ร่างกาย ซึ่งคุณแม่อาจกินเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อก็ได้ แต่ไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไปเพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้
วิตามินซี : ลดความดันของน้ำภายในลูกตาและช่วยให้เส้นเลือดฝอยคอยส่งเลือดไปหล่อเลี้ยง ดวงตาให้แข็งแรง พบในผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี หอมแดง มะเขือม่วง ผักที่มีสีน้ำเงินหรือม่วง รวมถึงผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะ เบอร์รี่สีเข้ม องุ่นแดง แอปเปิ้ลแดง ลูกเกด จะมีสาร แอนโตไซยานินส์ ช่วยให้การมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น
ธาตุสังกะสี : ควรได้รับควบคู่กับวิตามินเอจะช่วยป้องกันอาการมองไม่เห็นในช่วงกลางคืนได้ ดี เช่น ปลาทะเล ผักใบเขียว ข้าวซ้อมมือ เมล็ดฟักทองและเต้าหู้ เป็นต้น
กินปลา... บำรุงสายตา
ในช่วงตั้งครรภ์ ควรหมั่นกินปลาทะเลเป็นประจำเพราะอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งการกินปลาทะเลนึ่ง หรือลวกจะดีกว่า เพราะการทอดจะทำให้น้ำมันปลาซึมออกและสูญเสียคุณค่าทางอาหาร

การได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 จะช่วยให้เรตินาในดวงตาสามารถรับภาพได้คมชัดขึ้น เสริมสร้างการมองเห็นทั้งแม่ และลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์ และยังช่วยในการขับสารพิษตกค้างออกจากดวงตาได้อีกด้วย


วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พัฒนาการของเด็ก

ของเด็กปฐมวัย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2009 เวลา 10:00 น.
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความสำคัญการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตาม จุดมุ่งหมายจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยต้องให้ความสนใจ และเข้าใจพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กวัยนี้ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
    1. พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development) เด็กปฐมวัยจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 3–6 ขวบ เด็กในวัยนี้มีอัตราพัฒนาการด้านร่างกายช้ากว่าตอนอยู่ในวัยทารก และเนื่องจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีอัตราพัฒนาการแตกต่างกัน จึงทำให้เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนอย่างเห็นได้ชัด โดยเด็กวัยนี้จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความงุ่นง่านในวัยทารกจะหายไป การเติบโตทางสัดส่วนจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตามลำดับ
    2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ และสังคม (Emotional and Social Development) พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจเป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกรวมทั้งความสามารถในการแยกแยะ ความลึกซึ้ง และควบคุมการแสดงออกของอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างความรู้สึกที่ดีและนับถือต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคมด้วย บางครั้งจึงมีการรวมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ กับทางด้านสังคมเป็นกลุ่มเดียวกัน
    3. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Intellectial Development) พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นความคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดเชิงเหตุผล คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือกระทำที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรียนรู้ธรรมชาติวัตถุ จากการทำ กิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมสำรวจ ปฏิบัติทดลอง การเรียนรู้ และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงานต่าง ๆ ซึ่งการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ของวิ่งต่าง ๆ โดยเด็กได้พัฒนาทักษะการสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ ซึ่งเป็นกระบวนการกระตุ้นให้เด็กใช้กระบวนการคิดมากว่าเน้นความรู้ความจำเป็น
     ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก มีดังนี้
    1. ปัจจัยด้านธรรมชาติของตัวบุคคล (organismic factor) เป็นผลโดยตรงของพันธุกรรมที่กำหนดศักยภาพ กำหนดเพศ และลักษณะแตกต่างจำเพาะบุคคล รวมถึงขั้นตอนการบรรลุวุฒิภาวะและระดับความอ่อนแอ เมื่อบุคคลนั้นถูกกระทบโดยสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
    2. ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่หล่อเลี้ยง (environmental factor) แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
        2.1 ชีวกายภาพ ได้แก่ อาหาร ภูมิประเทศ สภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย การเจ็บป่วย การได้รับรังสี สารเคมี และมลภาวะ เป็นต้น
        2.2 จิตสังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเลี้ยงดู โอกาสรับการศึกษา ลักษณะครอบครัวบิดามารดาและผู้เลี้ยงดู เศรษฐกิจ ฐานะ สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง ตลอดจนระบบสาธารณูปโภค สื่อมวลชน บริการทางสังคม การศึกษา สุขภาพ และสวัสดิการที่มีอยู่ในสังคมอีกทั้ง ระยะเวลา ที่ปัจจัยต่าง ๆ กระทบต่อเด็กเป็นสิ่งสำคัญ